((((( +++ Niyomict งานบริการสินค้า คอมพิวเตอร์ +++ )))))



Join the forum, it's quick and easy

((((( +++ Niyomict งานบริการสินค้า คอมพิวเตอร์ +++ )))))

((((( +++ Niyomict งานบริการสินค้า คอมพิวเตอร์ +++ )))))

Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.
((((( +++ Niyomict งานบริการสินค้า คอมพิวเตอร์ +++ )))))

(((( +++ Niyomict +++ Computer Service +++ ))))


    จุดกำเนิด Ryzen พลิกโฉม AMD เขย่าบัลลังก์ Intel มาจากความล้มเหลวของ Bulldozer

    Admin
    Admin
    Admin


    จำนวนข้อความ : 20
    Reputation : 0
    Join date : 20/05/2018

    จุดกำเนิด Ryzen พลิกโฉม AMD เขย่าบัลลังก์ Intel มาจากความล้มเหลวของ Bulldozer Empty จุดกำเนิด Ryzen พลิกโฉม AMD เขย่าบัลลังก์ Intel มาจากความล้มเหลวของ Bulldozer

    ตั้งหัวข้อ by Admin Fri May 25, 2018 4:31 am

    จุดกำเนิด Ryzen พลิกโฉม AMD เขย่าบัลลังก์ Intel มาจากความล้มเหลวของ Bulldozer

    Credit https://www.blognone.com/node/102413

    จุดกำเนิด Ryzen พลิกโฉม AMD เขย่าบัลลังก์ Intel มาจากความล้มเหลวของ Bulldozer
    By: RoseGold Contributor on 18 May 2018 - 23:33 Tags:RyzenAMDCPU
    Node Thumbnail
    เมื่อเอ่ยถึงซีพียูในคอมพิวเตอร์ แน่นอนว่าชื่อว่า Intel อยู่ในลำดับแรกที่หลายคนนึกถึง ตลอดหลายสิบปี Intel ครองความเป็นผู้นำในตลาดซีพียู จากการพัฒนาเทคโนโลยีที่เปี่ยมไปด้วยประสิทธิภาพฝังอยู่ในซีพียูหลายต่อหลายรุ่น

    อย่างไรก็ตามในปัจจุบัน Intel กำลังเผชิญหน้ากับความท้าทายครั้งสำคัญจากคู่แข่งอย่าง AMD ที่ใช้เวลากว่า 6 ปี ทุ่มงบประมาณและทรัพยากรต่างๆ พัฒนาซีพียู “Ryzen” ภายใต้สถาปัตยกรรม Zen ที่เปรียบเสมือนไพ่เด็ดในการเขย่าบัลลังก์ Intel

    No Description

    ความผิดหวังจาก AMD Bulldozer
    ย้อนไปในปี 2011 AMD พยายามผลักดันซีพียูที่ได้รับการออกแบบด้วยสถาปัตยกรรม Bulldozer กระบวนการผลิตระดับ 32 นาโนเมตร (วางจำหน่ายในชื่อ AMD FX) เพื่อแข่งขันกับ Intel ที่เปิดตัวซีพียู Sandy Bridge ในปีเดียวกัน กลับต้องประสบกับความผิดหวังทั้งในแง่ของการทดสอบประสิทธิภาพจากหลายๆ สำนัก และบรรดาแฟนๆ AMD ที่ไม่สามารถสู้กับซีพียูของ Intel ในช่วงเวลานั้นได้ ทำให้ AMD จำเป็นต้องริเริ่ม คิดใหม่ ทำใหม่ เพื่อลดช่องว่างระหว่าง Intel และ AMD

    เริ่มต้นเปลี่ยนแปลงภายในองค์กร
    หลังความผิดหวังใน AMD Bulldozer ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารภายในองค์กร ในปี 2011 ทาง AMD ได้แต่งตั้ง Mark Papermaster อดีตผู้บริหารของ IBM และ Apple เข้ามารับตำแหน่ง CTO (Chief Technology Officer) พร้อมคำสั่งแรกในการปรับเปลี่ยนโครงสร้างทีมออกแบบซีพียู และเน้นการออกแบบซีพียูที่เอื้อต่อการเล่นเกม, การประมวลผลไฟล์ 3D รวมไปถึงการเรนเดอร์วีดีโอความละเอียด 4K

    โครงสร้างทีมออกแบบของ AMD ก่อนหน้านี้ถูกแยกออกเป็นสองกลุ่ม กลุ่มแรกเป็นผู้รับผิดชอบซีพียูสำหรับแล็ปท็อปและเดสก์ทอปราคาประหยัด ส่วนกลุ่มที่สองทำหน้าที่ออกแบบซีพียูสำหรับเซิร์ฟเวอร์และเดสก์ทอประดับไฮเอนด์ ซึ่ง Papermaster เข้ามาปรับทีมงานออกแบบ Zen เป็นการนำทั้งสองทีมมารวมกัน กลายเป็นทีมขนาดใหญ่ที่มีประสิทธิภาพในการสร้างซีพียูที่ดีกว่าที่ผ่านมา

    ช่วงปี 2012 AMD เปิดตัวผู้บริหารใหม่อีกหนึ่งคนคือ Lisa Su ในตำแหน่ง Senior Vice President และ General Manager พร้อมเป้าหมายในการเจาะตลาดกราฟิกและเกมมิ่ง การเดินหมากครั้งนี้ในเชิงธุรกิจถือว่าประสบความสำเร็จพอสมควร เนื่องจาก AMD สามารถบรรลุข้อตกลงในการเป็นพันธมิตรร่วมกับ Sony และ Microsoft ในการผลิตซีพียูให้กับ PlayStation 4 และ Xbox One

    หลังจากนั้น 2 ปี Lisa Su ก้าวขึ้นเป็น CEO ของ AMD พร้อมดำเนินการร่วมกับ Mark Papermaster และ Joe Merci รองประธานและซีทีโอด้านผลิตภัณฑ์ ในการพัฒนาซีพียู Ryzen ภายใต้สถาปัตยกรรม Zen ให้กับ AMD

    View image on Twitter
    View image on Twitter

    Lisa Su
    ✔️@LisaSu
    Getting ready to ship @AMDRyzen #Threadripper... super excited! More details on @Radeon Vega and Threadripper at #SIGGRAPH2017.

    8:05 PM - Jul 24, 2017
    1,848691 people are talking about this
    Twitter Ads info and privacy
    สร้างเทคโนโลยี Infinity Fabric
    ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาทีมออกแบบซีพียูของ AMD เปลี่ยนแปลงหลายส่วนของซีพียู เพื่อปรับปรุงความเร็ว พร้อมตัดสินใจทิ้งสถาปัตยกรรมเดิม Bulldozer พร้อมทุ่มทรัพยากรเพื่อพัฒนาสถาปัตยกรรม Zen

    หนึ่งในองค์ประกอบสำคัญของ Zen คือการปรับปรุงระบบบัส HyperTransport พร้อมกับสร้างระบบบัสแบบใหม่ที่เรียกว่า “Infinity Fabric”

    Jim Keller วิศวกรรมผู้อยู่เบื้องหลังการออกแบบสถาปัตยกรรม Zen และเทคโนโลยี Infinity Fabric เปิดเผยว่า AMD ใช้แนวทางการออกแบบที่เรียกว่า “chiplet” การจัดโปรเซสเซอร์หลายชุดรวมเข้าด้วยกันและเชื่อมต่อผ่าน Infinity Fabric ซึ่งวิธีนี้จะทำให้ซีพียูมีความเร็วมากยิ่งขึ้น รวมถึงสามารถผลิตซีพียูได้ในราคาที่ถูกลง

    เทคโนโลยี Infinity Fabric ยังมีคุณสมบัติที่เอื้อต่อการขยายระบบให้ใหญ่ขึ้นได้ง่าย เปรียบเสมือนบล็อกสำหรับการต่อเลโก้ ที่สามารถผสานกับเทคโนโลยีอื่นๆ เช่น การนำหน่วยประมวลผลกราฟิกมาใส่รวมกับซีพียูได้เลย เป็นต้น หากต้องการเปลี่ยนแปลงใดๆ ก็สามารถทำได้โดยไม่ต้องออกแบบใหม่ทั้งหมด ส่งผลให้ AMD สามารถผลิตซีพียูได้ในปริมาณมหาศาล

    No Description

    ภาพจาก wccftech

    เมื่อทุกอย่างพร้อม ได้เวลาเดินหน้า!
    จากการพัฒนาซีพียูรุ่นใหม่ภายใต้สถาปัตยกรรม Zen ร่วมหลายปี ในที่สุด AMD Ryzen ซีรีส์แรกก็ประเดิมเปิดตัวอย่างเป็นทางการในปลายปี 2016 ประกอบไปด้วย Ryzen 3, 5 และ 7 เป็นซีพียู 8 คอร์ 16 เธรด ที่มีประสิทธิภาพด้านความเร็ว ราคาถูก เหมาะสำหรับผู้ใช้คอมพิวเตอร์ที่มีงบประมาณจำกัดและต้องการความคุ้มค่า

    นอกจากนี้ AMD ยังเปิดตัวซีพียูในกลุ่มอื่นๆ ได้แก่ Epyc ซีพียูสำหรับเซิร์ฟเวอร์, Ryzen APU สำหรับแล็ปท็อป และ Threadripper สำหรับเดสก์ทอป ที่ให้พลังในการประมวลผลแบบ 16 คอร์ 32 เธรด ซึ่งเป็นซีพียูที่ได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคและผู้ผลิตพีซี รวมถึงเดสก์ทอปเกมมิ่ง Alienware ด้วย

    No Description

    จากการยอมรับของผู้บริโภคต่อซีพียู Ryzen ส่งผลให้สถานการณ์ของ AMD ดีขึ้นตามลำดับ จนสามารถพลิกฟื้นธุรกิจขึ้นมาทำกำไรได้อีกครั้งในปีที่ผ่านมา ซึ่งในปี 2018 นี้ AMD เริ่มต้นครึ่งปีแรกด้วยการเปิดตัวซีพียู Ryzen รุ่นที่ 2, APU สำหรับเดสก์ทอป และ Mobile APU สำหรับแล็ปท็อป

    เว็บไซต์ Gizmodo คาดการณ์ว่าภายในปีนี้จะมีแล็ปท็อปและเดสก์ทอปกว่า 60 รุ่นที่ใช้ซีพียู Ryzen โดยส่วนใหญ่จะเป็นแล็ปท็อปในระดับพรีเมียมที่คุณอาจไม่เคยเห็นจากค่าย AMD มาก่อน

    สุดท้ายนี้ จากความก้าวหน้าของ AMD ในช่วง 2-3 ปีมานี้ ทำให้การแข่งขันในตลาดซีพียูมีชีวิตชีวามากขึ้นอีกครั้ง ซึ่งแน่นอนว่าสถานการณ์แบบนี้ย่อมทำให้ Intel ไม่สามารถนิ่งเฉยหรือชะล่าใจได้อีกต่อไป แต่เหนือสิ่งอื่นใดแล้วการไม่หยุดยั้งการพัฒนานวัตกรรมย่อมนำมาซึ่งผลดีแก่ผู้บริโภคทั้งสิ้น

    No Description

    อ้างอิง : Gizmodo

      เวลาขณะนี้ Mon May 13, 2024 11:49 am